EMAIL

smilefeetclub@gmail.com

Call Now

(095) 440 7448

ต้องยืนทำงานนานๆ แก้อาการปวดเมื่อยล้าอย่างไรดี

  • Home
  • ต้องยืนทำงานนานๆ แก้อาการปวดเมื่อยล้าอย่างไรดี

ต้องยืนทำงานนานๆ แก้อาการปวดเมื่อยล้าอย่างไรดี

ประเภท : สุขภาพ

2017-03-16

เข้าชม 5036

บางอาชีพจำเป็นต้องยืนทำงานเป็นเวลานาน ๆ จะนั่งก็ไม่ได้ อย่างเช่นอาชีพพนักงานขายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ คุณครูอาจารย์ หนุ่มสาวโรงงาน และผู้ที่ทำอาชีพต้องยืนทำงานนานหลายชั่วโมง จนมีอาการปวดขา เมื่อยล้าตามมา จะทำอย่างไรถึงจะแก้ปวดเท้าและขา เรื่องนี้มีคำแนะนำมาบอกกันค่ะ



รายละเอียด

    ต้องยืนทำงานนาน ๆ แก้อาการปวดเมื่อยล้าอย่างไรดี


    บางอาชีพจำเป็นต้องยืนทำงานเป็นเวลานาน ๆ จะนั่งก็ไม่ได้ อย่างเช่นอาชีพพนักงานขายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ คุณครูอาจารย์ หนุ่มสาวโรงงาน และผู้ที่ทำอาชีพต้องยืนทำงานนานหลายชั่วโมง จนมีอาการปวดขา เมื่อยล้าตามมา จะทำอย่างไรถึงจะแก้ปวดเท้าและขา เรื่องนี้มีคำแนะนำมาบอกกันค่ะ
ผลต่อสุขภาพย่อมมีแน่นอน พบว่าร้อยละ 70 มีอาการปวดบริเวณน่อง ตามด้วยเท้า (ร้อยละ 36) ต้นขา (ร้อยละ 33) เอว (ร้อยละ 27) และส่วนอื่น ๆ เช่น ไหล่ และหลังส่วนบนอีกเล็กน้อย
ก่อนอื่นควรรู้ว่าผลเสียของการยืนนาน ๆ มีอาการหลายอย่าง เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่องและต้นขา อาการปวดเมื่อยเท้า หลอดเลือดขอด ปวดเข่าและหลัง สามารถป้องกันผลเสียจากการยืนนานได้ด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้

1. ยืนบนพื้นนิ่ม พื้นที่นิ่มลดแรงกดที่เท้าได้ อาจใช้พรมเช็ดเท้านิ่ม ๆ ไม่จำเป็นต้องไปซื้อพรมสำหรับยืนที่มีราคาแพง สามารถทดสอบพรมได้ด้วยการถอดรองเท้ายืนบนพรมนั้น หลังจากนั้นลองยืนเท้าเดียว ถ้ารู้สึกว่าสบายเท้า และยืนได้มั่นคงถือว่าใช้ได้
2. ใส่รองเท้าที่มีพื้นนิ่มและหลวมเล็กน้อย รองเท้าที่มีพื้นนิ่มช่วยลดแรงกดไปที่เท้าได้ เช่นเดียวกับพื้นที่นิ่ม ส่วนการที่ต้องเลือกรองเท้าหลวมเพราะตกเย็นเท้าของท่านอาจบวมได้เล็กน้อยจากการยืนนาน
3. ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงในการทำงาน กรณีที่เจ็บส้นเท้ามาก อาจใส่รองเท้าส้นสูงได้ แต่ไม่เกิน 2 นิ้ว เพื่อช่วยลดแรงกดที่ส้นเท้า
4. ยืนเท้าโต๊ะสูงหรือตู้ขายสินค้า โดยใช้แขนหรือศอกรับน้ำหนักตัวทางด้านหน้า สลับกับการใช้ก้นหรือหลังพิงผนังเป็นครั้งคราว เพื่อลดน้ำหนักกดที่กระทำต่อหลังและเท้า

5. พักการยืนบ่อย ๆ หย่อนขาข้างหนึ่ง หรืออาจใช้ที่วางเท้าเป็นบล็อกสูงจากพื้นประมาณ 4-6 นิ้ว
6. ใช้เก้าอี้แบบกึ่งนั่งกึ่งยืน กรณีของพนักงานเคาน์เตอร์หรือการทำงานในโรงงาน
7. ยืนสลับนั่ง แต่ต้องจัดสภาพงานให้เหมาะสม เช่น โต๊ะยืนทำงานไม่ควรเตี้ยเกินไปจนต้องก้มหลัง อาจจัดโต๊ะให้ทำงาน 2 ชุด คือชุดยืนและนั่งทำงาน แล้วให้ทำงานสลับหน้าที่กันเป็นระยะ ๆ
8. เมื่อรู้สึกเมื่อย ให้เดินไปมาสัก 2-3 นาที จึงค่อยนั่งลง ยกขาทั้ง 2 ข้างพาดบนที่นั่งของเก้าอี้อีกตัวหนึ่ง ให้เท้าอยู่สูงประมาณระดับเข่า เพื่อช่วยเลือดจากขากลับเข้าสู่หัวใจดีขึ้น ป้องกันหลอดเลือดขอด มีโอกาสพักอย่ายืนคุย ให้นั่งยกขาพาดเก้าอี้ อาจจะกระดกปลายเท้าสลับกันซ้าย-ขวาร่วมด้วย
9. กลับถึงบ้านให้นอนเอาเท้ายันกับกำแพงให้เท้าอยู่สูงจากพื้นประมาณครึ่งเมตร แล้วกระดกปลายเท้าขึ้นสลับกันทั้ง 2 ข้าง ทำประมาณ 10 นาที ออกกำลังด้วยการเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำ เป็นเวลา 15-20 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อช่วยการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขา พักผ่อนด้วยการนอนให้พอเพียงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง สำหรับการออกกำลังกายเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องยืนทำงานนาน